.

ถังเก็บน้ำ ติดตั้งบนดินหรือใต้ดินดี?

เชื่อว่าหลายๆคนที่กำลังสร้างบ้านก็คงอยากรู้กันนะครับว่า ถังเก็บน้ำ ที่ใช้เก็บน้ำประปาภายในบ้านควรจะติดตั้งไว้บนดินหรือใต้ดินดี? เคยได้ยินคนหนึ่งบอกเอาไว้บนดินดีกว่า อีกคนบอกเอาไว้ใต้ดินดีกว่า คนฟังก็เกิดความสับสนไม่รู้จะเอาอย่างไรดี? ไม่รู้ว่าจะพิจารณาจากอะไร? สำหรับผมๆก็จะมีความคิดเห็นอย่างนี้ครับ

article5

สำหรับการติดตั้งถังเก็บน้ำบนดิน

ข้อดีของการติดตั้งแบบนี้ ก็คือ

  • การติดตั้งทำได้ง่าย สามารถเทคอนกรีตพื้นทำฐานแล้ววางถังฯได้เลย หรือจะกดเข็มรองรับฐานด้วยก็ทำได้ง่าย
  • การดูแลซ่อมแซม ทำได้ง่าย เมื่อเกิดปัญหาต่างๆเช่น ข้อต่อท่อแตกหรือหลุด น้ำรั่วซึม ถังฯรั่วซึมก็จะมองเห็นได้ง่ายๆ และสามารถซ่อมแซมได้ง่ายเพราะถังฯวางอยู่บนพื้นดิน

ข้อเสีย (สำหรับบางคน) ของการติดตั้งบนดิน

  • บางคนอาจคิดว่าเกะกะพื้นที่ หรือมองดูแล้วรกหูรกตา

การติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดิน

ข้อดีของการติดตั้งแบบนี้ ก็คือ

  • ไม่เกะกะพื้นที่

ข้อเสียของการติดตั้งใต้ดิน

  • การดูแลซ่อมแซมทำได้ยาก เพราะถังฯอยู่ใต้ดิน และเมื่อเกิดปัญหากับถังฯก็มองเห็นได้ยาก

สรุปก็คือ ถ้าให้ผมเลือกผมชอบการติดตั้งถังเก็บน้ำแบบบนดินเพราะการติดตั้งจะง่ายกว่า ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการขุดดินเพื่อเอาถังลงไป ไหนจะต้องจัดการกับดินที่ขุดขึ้นมาอีก (ช่างหรือผู้รับเหมาเขาคิดรวมหมดแหละครับตามความยากง่ายของงาน) และที่สำคัญการดูแลหรือซ่อมแซมก็ทำได้ง่ายกว่า เมื่อเกิดถังเก็บน้ำชำรุดหรือเกิดการรั่วซึม ตามข้อต่อท่อน้ำเข้าหรือท่อน้ำออกต่างๆ ก็สามารถซ่อมแซมหรือเปลี่ยนได้เลย หรือจะเปลี่ยนถังฯใบใหม่ก็สามารถเปลี่ยนได้เลย

พูดถึงการซ่อมแซม ถังเก็บน้ำประปาที่ฝังไว้ใต้ดินก็ซ่อมแซมได้เหมือนกันนั่นแหละครับ เพียงแต่ว่าขั้นตอนจะเสียเวลาและยากกว่าเพราะต้องขุดดินออกเพื่อเปิดให้เห็นตำแหน่งที่จะซ่อมแซม หรือแม้แต่ตัวลูกลอยที่ติดตั้งอยู่ส่วนบนถังด้านใน หากฝังถังฯไว้ลึกจนมือเอื้อมจากด้านบนไม่ถึง ก็จำเป็นต้องลงไปในถังฯ ซึ่งต้องทำงานยากนิดหนึ่ง

ลองพิจารณาดูข้อดี-ข้อเสีย ให้ดีก่อนนะครับ ก่อนที่จะทำการติดตั้ง ประเด็นส่วนใหญ่ก็จะเป็นแค่เรื่องว่าเกะกะพื้นที่เท่านั้นแหละครับ ซึ่งจริงๆแล้วก็สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งหรือโยกย้ายได้ในภายหลังกรณีที่วางบนพื้นดิน ส่วนการซ่อมแซมบำรุงรักษา ตั้งข้างบนมันทำได้ง่ายกว่าอยู่แล้ว

 

ปูกระเบื้องพื้นโรงจอดรถ อย่าเอาสวยงามอย่างเดียว

article6

ปูกระเบื้องพื้นโรงจอดรถ หรือ พื้นถนนเข้าบ้าน อย่าเอาสวยงามอย่างเดียวนะครับ ดูความเหมาะสมของการใช้สอยด้วยครับ หมายความว่าอย่างไร? บางคนเลือกกระเบื้องปูพื้นอย่างสวยงาม ปูพื้นบริเวณที่จอดรถ ลาดเอียงออกมาถึงประตูหน้าบ้าน ลองคิดถึงหน้าฝนหรือตอนที่พื้นมันเปียกบ้างนะครับ มันจะลื่นนะครับ อาจหกล้มได้รับบาดเจ็บ เพราะผิวกระเบื้องเรียบมัน พอโดนน้ำจะลื่น เพราะฉะนั้นก่อนเลือกกระเบื้องสำหรับนำมาปูทำพื้นบริเวณที่จอดรถ ก็ควรเลือกกระเบื้องที่ใช้สำหรับปูพื้นภายนอก ดูผิวกระเบื้องด้วยครับ ต้องเป็นแบบโดนน้ำแล้วไม่ลื่น ก็คือ แบบผิวไม่เรียบนั่นเอง แล้วก็ไม่ต้องปูไห้ลาดเอียงมากมายเอาแค่พอน้ำไม่ขังก็พอครับ โดยปกติค่าความลาดเอียงส่วนใหญ่จะประมาณ 1:200 ก็คือ ทุกความยาว 2 เมตร ปรับให้เอียงลาดลง 1 ซม.

สมมุติจากขอบประตูรั้วหน้าบ้านเข้าไปถึงโรงจอดรถ (ติดผนังบ้าน) มีความยาว 5 ม. ระยะลาดเอียง จากผนังบ้านออกมาถึงขอบพื้นประตูรั้ว ก็เท่ากับ 2.5 ซม. ครับ ท่านอาจจะบอกช่างว่าทำระยะสูงสุดถึงต่ำสุด ไห้ต่างกันประมาน 2.5 - 3 ซม. (ในกรณีที่พื้นยาว 5 ม.นะครับ)

เรื่องพื้นฐานพวกนี้ก็ควรรู้ไว้บ้างครับ เพราะเมื่อเราจ้างช่างมาทำการปูกระเบื้องพื้นโรงจอดรถ หรือ ปูพื้นถนนเข้าบ้าน จะได้บอกเขาถูก ไม่อย่างงั้นถ้าปล่อยให้เขาทำตามใจเดี๋ยวจะเสียใจทีหลัง และต้องมาทะเลาะกับผู้รับเหมาอีกด้วยครับ

เกร็ดความรู้งานก่อสร้างและเทคนิคช่าง สำหรับงานนี้ที่เราควรรู้ไว้บ้าง ก็มีดังนี้

  • อย่างน้อยก็ต้องเลือกกระเบื้องให้เป็น นอกจากดูความสวยงามแล้วต้องเลือกให้ถูกชนิดและเหมาะสมกับการใช้งานด้วย
  • ต้องบอกช่างด้วยเรื่องความลาดเอียง ว่าเราต้องการแค่ไหน อย่าไปแล้วแต่ช่างจัดให้
  • ถ้าลาดเอียงมากน้ำก็ไหลไว แต่ก็อาจมีผลทำไห้ลื่นล้มหรือหกล้มได้ง่าย ในกรณีพื้นเปียกน้ำ หรือหน้าฝน
  • ถ้าลาดเอียงเล็กน้อย เอาแค่พอน้ำไม่ขัง และเลือกกระเบื้องปูพื้นโรงจอดรถแบบผิวหยาบ ก็จะปลอดภัยขึ้นในกรณีพื้นเปียก
 

ความรู้เรื่องท่อและระบบประปา

ชนิดของท่อประปา

- ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี

  • ข้อดี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงๆ เช่น เครื่องทำน้ำร้อน
  • ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง ถ้าใช้ไปนานๆ อาจเกิดสนิม ได้ โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน อาจเป็นอันตราย ถ้านำน้ำในท่อ มารับประทาน


- ท่อประปาพีวีซี (PVC.)

  • ข้อดี น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า
  • ข้อเสีย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง


- ชนิดของท่อพีวีซี (PVC.) ท่อพีวีซี (PVC.) แบ่งตามชนิดการใช้งาน โดยใช้สี ดังนี้

  • ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
  • ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภท การใช้งาน (มีหลายเกรด)
  • ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน

อ่านเพิ่มเติม...

 

6 เทคนิคปรับปรุงสู่ "บ้านประหยัดพลังงาน"

เชื่อหรือไม่ว่า บ้านที่คุณอยู่ปัจจุบันก็สามารถแปลงสภาพให้เป็นบ้านประหยัดพลังงานได้เหมือนกัน ลองสังเกตแต่ละมุมของบ้านจาก 6 เทคนิคต่อไปนี้ แล้วปรับเปลี่ยน ปรับปรุงในมุมที่ไม่เวิร์กเสียใหม่ตามคำแนะนำที่ว่าไว้ เท่านี้บ้านทั้งหลังของคุณก็จะกลายเป็นบ้านพลังงานหารสองที่สมบูรณ์อย่างแน่นอน

1. ติดฉนวนกันความร้อนบนฝาเพดาน ก่อนเริ่มติดตั้งควรตรวจสอบบริเวณที่จะติดตั้ง เช่น ชนิด การรับน้ำหนักของฝ้าเพดาน เพื่อจะได้สามารถเลือกฉนวนกันความร้อนได้อย่างเหมาะสมกับสถานที่และการใช้งาน ซึ่งแบบของฉนวนนั้นควรที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว

2. ปรับปรุงโถงบันไดที่ค่อนข้างมืด และไม่ระบายอากาศ ด้วยแสงสว่างและลมจากธรรมชาติ โดยเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคา หรือแผ่นฝ้าให้เป็นวัสดุโปร่งแสงในจุดที่ต้องการความสว่าง โดยกำหนดให้มีขนาดพอเหมาะ ส่วนการระบายอากาศนั้นก็ให้พยายามเปิดหน้าต่าง ให้สามารถระบายได้อย่างต่อเองผ่านโถงบันไดเท่าที่ทำได้

3. อย่าต่อเติมบ้านจนไม่มีทางให้ลมเข้าออก โดยเฉพาะพื้นที่ชั้นล่างที่ต้องพยายามออกแบบให้ทุกส่วนของมีทางให้ลมเข้าและออกได้อย่างต่อเนื่อง จึงจะช่วยลดการสะสมความร้อนภายในบ้าน และได้รับแสงธรมชาติ อันเป็นหนทางประหยัดพลังงานอีกทางหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม...

 
บทความ อื่นๆ ...

สินค้าโปรโมชั่น


ซีเมนต์มอร์ต้าคุณสมบัติสูงสำหรับงานฉาบซ่อม

กาวประเภทโพลียูรีเทน ยาแนวรอยต่อสำหรับงานทั่วไป

อีพ็อกซี่คุณภาพสูงสำหรับงานยึดเหล็กเสริม

ซีเมนต์พิเศษให้กำลังอัดสูง และไม่หดตัว